INTERVIEW : Graffiti Photographer 'Mc Suppha-riksh Phattrasitthichoke' skip to Main Content

INTERVIEW : Graffiti Photographer ‘Mc Suppha-riksh Phattrasitthichoke’

10 กว่าปีกับการเดินทางสายช่างภาพในวัฒนธรรมกราฟฟิตี้และสตรีทอาร์ท ‘แม็ค’ ศุภฤกษ์ ภัทราสิทธิโชค ด้วยฝีมือการถ่ายภาพที่มีเอกลักษณ์ รวมภาพหลายๆ เหตุการณ์ของศิลปินและไรท์เตอร์ในวงการนี้มาอย่างยาวนาน กับบทสัมภาษณ์ในครั้งนี้ที่เขาจะมาบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของการถ่ายภาพ, มนต์เสน่ห์และความหลงใหลที่มีต่อวัฒนธรรมนี้

เริ่มชอบถ่ายภาพตั้งแต่ตอนไหนและเพราะอะไร ?

เด็กๆ ก็เริ่มชอบถ่ายรูปแล้ว พ่อเคยให้กล้อง Lomo มาตอนนั้น ก็เอามาถ่ายเพื่อนๆ สมัยเรียน หลังจากนั้นเราก็ขอเงินพ่อซื้อกล้องวีดีโอก็เอามาลองถ่ายเล่นๆ ดู พอมาคิดๆ ดูคือตอนนั้น มันก็เหมือนเป็นแรงบันดาลใจให้ตอนนี้เราเก็บสะสมกล้องมาจนถึงทุกวันนี้เลยนะ พอเข้ามหาวิทยาลัยรังสิต เราเริ่มเรียนพวกวิชาเกี่ยวกับบริหาร ซึ่งมันก็ไม่ได้ดี เกเรด้วยตอนนั้น จนสุดท้ายก็เลยมาเลือกเรียนโฟโต้ เพราะมันตรงกับสมัยอดีตที่เราชอบถ่ายภาพ พอหลังจากเราเริ่มเรียนถ่ายภาพมาเรื่อยๆ มันมีเกี่ยวกับวิชาศิลปะเข้ามาด้วย คือพื้นฐานเราชอบศิลปะด้วย ก็มาเจอวิชานึง ตอนนั้นเขาให้ไปถ่ายภาพขาวดำมาอัดกัน รูปที่เราถ่ายก็ไปลงหนังสือของอาจารย์ที่รังสิต อาจารย์เขาชอบงานที่เราถ่าย มันก็เลยเหมือนเป็นจุดประกายที่ทำให้เริ่มสนใจมันมากขึ้น อยากถ่ายภาพลงหนังสือ มันได้ถ่ายหลายๆ อย่าง มันก็มาพีคสุดๆ ตอนนั้นเราได้รางวัลถ่ายด้วยกล้อง Lomo เราได้อันดับ 1 ของเว็บไซต์ Lomography เป็นภาพตอนเราไปสักแล้วลองสแนปภาพเก็บมา ซึ่งพอเราได้รางวัลมา มันก็เหมือนเพิ่มความมั่นใจให้เรามากขึ้นเรื่อยๆ เลยทำให้อยากเป็นช่างภาพมากขึ้น

ช่วงตอนเรียนก็เริ่มมีสไตล์ภาพถ่ายที่ชัดเจนมากขึ้น ?

มันก็ระดับนึงนะ แต่ก็ยังไม่ชัดเท่าไหร่ แต่มันจะมีงานอยู่ชุดนึงในระหว่างที่เราเรียนช่วงปีสุดท้ายทำ Thesis เราสนใจงานศิลปะแนวเซอร์เรียลิสม์ เราทำงานรีทัช เราจะมีภาพ element ต่างๆ ที่เราถ่ายเก็บเอาไว้เยอะมาก ลองเอามาประกอบกัน มันดูเซอร์เรียลดี ตอนนั้นงานเรามันค่อนข้างใหม่ ไม่ค่อยมีใครทำ เลยได้รางวัลด้วยตอนนั้น

จุดเริ่มการเป็นช่างภาพของคุณ ?

ตอนนั้นผมจบมา ก็มาได้งานถ่ายที่แมกกาซีน Happening ซึ่งเพื่อนของเพื่อนเราทำงานที่นั่น เขาแนะนำให้เราไปถ่ายงาน แล้วก็มาเจอพี่ ‘วิภว์ บูรพาเดชะ’ พี่เขาก็ให้โอกาสเราเรามาถ่ายงานแรกๆ ที่ Happening เราก็มาลองถ่ายงาน Portriat ดู หลังจากนั้นก็เริ่มถ่ายมาเรื่อยๆ จนมาทำงานที่ Goplay Magazine ซึ่งตอนนั้นเราก็มานั่งย้อนดูว่านิตยสารเล่มนี้เคยมาสัมภาษณ์เรา ตอนเราเล่น Fixedgear กับกลุ่มเพื่อนที่รังสิตชื่อกลุ่ม Fixedstones ก็เลยสนใจลองมาทำงานกับ Goplay ดู แต่มันก็เหมือนเป็นอะไรที่เชื่อมกันอยู่นะ คือ Goplay ตอนนั้นเขาเป็นนิตยสารด้านกราฟฟิตี้อยู่แล้ว บังเอิญเมื่อก่อนเด็กๆ เราก็เคยพ่นในห้องนอน เป็นหน้าปก ‘Limp Bizkit’ ชุด ‘three dollar bill y’all’ แล้วก็ลามไปถึงนอกบ้าน มาโรงเรียนก็พ่นหลังห้องเรียนอีก ส่วนใหญ่จะเป็นพวกงานคาแรคเตอร์ แต่มันก็ไม่ได้สวยอะไรหรอก พ่นสนุกๆ

ช่วงที่ทำ Goplay Magazine เป็นยังไงบ้าง ?

ก็ดีเลยแหละ เพราะมันรีเลทกับสมัยอดีตของเราด้วยที่เคยพ่นมาก่อน แล้วได้มาทำงานที่นี่ มันได้เจอศิลปินเยอะ ได้เห็นงานจริงๆ มันก็สนุกดี ทำได้ประมาณ 5-6 ปี ตอนนั้นเราก็ได้ทำงานที่ค่อนข้างอิสระด้วย ไม่ได้เข้มงวดมาก อยากทำอะไรก็ทำ ได้ครีเอทภาพที่เราอยากทำ ก็ต้องขอบคุณพี่โอ๊ต ‘อัครพล มณฑาทอง’ ที่ให้โอกาสมาตลอด เเล้วเราก็ได้ศึกษางานเมืองนอกเยอะ ได้เห็นวิธีถ่ายของเมืองนอก มันค่อยๆ ซึมซับ อย่างตอนถ่ายศิลปิน เราจะศึกษาเขานิดนึงว่าเขามีสไตล์ยังไง งานเป็นแบบไหน เราจะชอบเก็บภาพ Process การทำงานของเขา ซึ่งมันไม่ค่อยมีเท่าไหร่ในตอนนั้น พวกท่าต่างๆ ตอนพ่น เราเลยสนใจ เราพยายามเสนอมุมภาพที่ไม่ค่อยได้เห็น คือเราพยายามศึกษาทั้งตัวศิลปินและตัวผลงานของเขาค่อนข้างเยอะมาก เพื่อที่เราจะได้รู้ตัวตนจริงๆ ของเขา

จากมุมมองตอนแรกที่ได้เริ่มมาถ่ายงานกราฟฟิตี้จนมาถึงปัจจุบันนี้ มันเปลี่ยนไปบ้างมั้ย ?

ปัจจุบันนี้เราก็ยังคงถ่ายภาพงานพวกนี้อยู่ตลอดนะ มันเป็นอัตโนมัติไปแล้ว ตอนนี้เรามาทำงานที่ ‘Ductstore the design guru’ ทำ ‘IAMEVERYTHING.CO’ กับพี่หมู ‘นนทวัฒน์ เจริญชาศรี’ เราก็พยายามเสนองานใหม่ๆ พวกนิทรรศการกราฟฟิตี้, สตรีทอาร์ท มาลงไว้ที่นี่ด้วย เราก็อยากผลักดันด้วย ซึ่งอย่างที่เรารู้ๆ วงการนี้มันก็แคบอยู่แล้ว เราเลยอยากให้คนภายนอกหรือคนที่ไม่รู้จักได้เห็นงานพวกนี้บ้าง เพราะอะไรรู้มั้ย เพราะเท่าที่เราคลุกคลีมา วงการนี้ศิลปินเก่งๆ เยอะมาก การใช้สีสเปร์ยพ่นงานชิ้นๆ นึง มันไม่ได้ง่ายเลยนะ ยิ่งงานสวยๆ ด้วยแล้ว มันยิ่งยากขึ้นไปอีก เรานับถือคนที่ทำงานด้านนี้มาก จนตอนนี้ศิลปินก็เยอะขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก สมัยนั้นมันก็ยังน้อยอยู่ถ้าเทียบกับตอนนี้ แหล่งพื้นที่โชว์งาน พวกแกลเลอรี่ก็เยอะขึ้น มีการสนับสนุนมากขึ้นศิลปินเค้าก็มีกำลังใจในการทำงาน

Work In Process การถ่ายภาพตอนนั้นกับตอนนี้แตกต่างกันยังไง ?

มันก็ค่อนข้างเปลี่ยนไปพอสมควร แต่มันก็มีมุมมองและเทคนิคบางอย่างที่เอาผสมกันได้ทั้งอดีตและปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแสง, มุมมอง แต่งานในปัจจุบันที่เราทำ มันก็ทำให้เราละเอียดกับมันมากขึ้นซึ่งต่างจากแต่ก่อนที่ค่อนข้างดิบ เราก็ได้ประสบการณ์จากพี่ตาล ‘ธนพล แก้วพริ้ง’ ช่างภาพรุ่นพี่ เราก็เคยมีโอกาสเป็นผู้ช่วยพี่เค้ามา มันก็ได้อะไรหลายๆ อย่าง  แต่ความต่างมันจะมีอะไรที่เราหยิบมาใช้ร่วมกันบ่อยๆ อย่างงานถ่ายพวกสถาปัตยกรรมเราก็เอามาใช้กับงานพวกกราฟฟิตี้บ่อยเหมือนกัน บางอย่างเอื้อต่อกันได้แล้วก็มาดัดแปลงให้มันเป็นในแบบที่เราชอบ

ประโยชน์ที่ได้จากการถ่ายงานกราฟฟิตี้, สตรีทอาร์ท ?

เราคิดว่ามันเปลี่ยนวิธีคิดและมุมมอง ก็เพราะว่าถ้าเราไม่ได้เริ่มต้นถ่ายภาพเกี่ยวกับกราฟฟิตี้มาก่อน ทัศนคติของเราที่มีต่องานแบบนี้ก็คงไม่ได้มองว่ามันสวยหรือมันเป็นสีสันให้กับบ้านเมือง แต่พอเราได้มาทำ เรามองเป็นอีกแบบ เรามองว่ามันสวยและเท่ห์เสมอ ชอบมองหาตลอดว่ามีงานพวกนี้ตรงไหน ซอกไหนในเมืองบ้าง มันมีเสน่ห์ในตัวของมัน และมันทำให้เรามีความกล้ามากขึ้นด้วย ตลอดเวลาที่ทำงานที่ Goplay มา เราค่อนข้างลุยไปทุกที่ พวกที่รกร้าง, สถานที่ที่มีผี, ชุมชนที่มีแหล่งยาเสพติด, ชุมชนชาวบ้าน, กำแพงแบบผิดกฎหมาย, เจอคนไล่เวลาเราไปถ่ายศิลปินตอนกำลังพ่น, เจอตำรวจ, ถ่ายงานศิลปินพ่นตอนอยู่ในเหตุการณ์ม๊อบลงถนนปิดเมือง ซึ่งเราก็เจอด้านมืดๆ มาหมด เราว่ามันช่วยให้เรากล้ามากขึ้น ทำให้เราเข้าใจสังคม, เข้าใจคนและเข้าใจสถานที่  

ตอนนั้นคุณชอบงานกราฟฟิตี้หรือสตรีทอาร์ทของใครเป็นพิเศษ ?

เอาจริงๆ ก็ชอบทุกคนที่เราไปถ่ายนะ แต่ถ้าให้เลือก ชอบงานของพี่บอย ‘Zids’ แนว Wildstyle เส้นที่มันแหลมๆ คมๆ ตอนนั้นเราชอบงานฟอนต์เป็นหลัก

แล้วตอนถ่ายงานมา มีประทับใจศิลปินคนไหนเป็นพิเศษ ?

ก็มีหลายคน คือจริงๆแล้ว ศิลปินทุกคนที่มีโอกาสได้ถ่ายมาแต่ละคนจะมีความเก่งเฉพาะตัวอยู่แล้ว มีสไตล์เป็นของตัวเองชัดเจน พวกน้องๆรุ่นใหม่ที่เข้ามาก็มีความกล้าในการเสนอตัวตนมากขึ้น คือคนทำงานประเภทนี้เราก็ Respect ในการทำงานของทุกคนแหละ

ช่างภาพเมืองนอกที่คุณชอบ ?

ก็ต้องเป็นป้า ‘Martha Cooper’ แหละ เขาคือช่างภาพที่เก็บประวัติศาสตร์ของงานสายนี้ เรานับถือคนแบบนี้มาก เพราะเขารักในงานที่เขาทำตั้งแต่ยุค 80 จนตอนนี้ป้าก็ยังตามถ่ายงานอยู่ตลอด ถ้าไม่มีเขา เราก็คงไม่ได้เห็นงานกราฟฟิตี้ในยุคนั้นหรอก  

ENGLISH INTERVIEW : Graffiti Photographer ‘Mc Suppha-riksh Phattrasitthichoke’

When did you start to photographer and why ?

Children are starting to like taking pictures. My father had given me a Lomo camera at that time and used it to take pictures with my friends when I was in school. After that, I asked my father for money to buy a video camera and used it to take photos for fun. When I think about it, at that time it was like an inspiration to me. I’ve been collecting cameras to this day. After entering Rangsit University I started studying Bachelor of Business Administration. Which wasn’t good. I was mischievous at that time. Until finally, I chose to study Bachelor of Fine Arts Program in Photography. Because it corresponds to the past that I liked to take pictures of. After I started studying photography continuously. It has something to do with art and we like it. Basically, I like art too. Then I came across a subject. At that time, he asked me to take black and white photos and record them together. Then the pictures I took went into the teacher’s Black and White Photography Magazine . The teacher liked the work I shot. So it was like a spark that made me start to become more interested in it. I want to take photos for a Magazine. It took many photos and it came to its peak. At that time, I received an award for taking photos with a Lomo camera. I were ranked number 1 on the Lomography Website Mission 9to5 for pictures taken when I got a tattoo and tried to snap the pictures. which is when I received the award It’s like increasing our confidence more and more. So it makes me want to be a photographer even more.

Study at University Do you have a more Defined Photography Style?

It’s some degree. But it’s still not style. But there will be a set of work during the Thesis during our final year of study. I interested surrealism art. Then I do retouching work and I have a lot of images of various elements that I shot. Then try putting it together. It looks surrealism. At that time my work was relatively new. Not many people do it. So I also received an award at that time.

What was your starting point as a photographer ?

I graduated at that time. Then I got a photoshoot at Happening magazine, where a friend of a friend of mine worked there. Then he suggested that we go take photos. Then I met P’Vip ‘Vip Buraphadeja’ and he gave me the opportunity to come and shoot my first work at Happening. We also came to try our hand at Portrait photography. After that, I started taking pictures continuously until I came to work at Goplay Magazine. At that time, I sat back and looked back to see that this magazine had come to interview us when we were playing Fixedgear with a group of friends in Rangsit called the Fixedstones group, so we were interested in trying to work with Goplay, but it was like something connected, namely Goplay. At that time he was already a graffiti magazine. And coincidentally, when I was a child I used to spray it in the bedroom as the cover of ‘Limp Bizkit’ in the ‘three dollar bill y’all’ series, and it spread outside the house. Came to school and sprayed it behind the classroom again. Most of them are character work. But it’s not pretty at all, just fun to spray.

How was it when working on Goplay Magazine ?

It’s good because it’s related to our past that has been sprayed before. and came to work here It got to meet a lot of artists. It was fun to actually see the work. I had been doing it for about 5-6 years, and at that time I were able to work quite independently. Not very strict If you want to do something, do it. I got to create the images I wanted to do. And then he studied a lot abroad. I saw the methods of filming in foreign countries. It gradually absorbed me, like when filming artists. I’m study him a little to see what his style is. What is the work like? I like to capture pictures of his work process. There weren’t many at that time, such as various positions when spraying, so I were interested. I tried to offer angles that were rarely seen. That is, I tried to study both the artist and his works quite a lot. So that I can know his true identity.

From the beginning of taking photo graffiti until now How has your perspective changed ?

Nowadays, I still take photos of these events all the time. It’s already automatic. Now I come to work at ‘Ductstore the design guru’ with P’Moo ‘Nontawat Charoenchasri’ and ‘IAMEVERYTHING.CO’. I try to offer new work. Graffiti and street art exhibitions are also posted here. I also want to push forward. Which, as we know This circle is already narrow. So I want outsiders or people who don’t know to see some of these works. Do you know why? Because as much as we’ve been involved There are a lot of talented artists in this industry. Using spray paint to paint one piece of work is not easy at all. And the more beautiful the work, the more difficult it is. I have great respect for the people who work in this field. Until now there are many more artists than before. At that time it was still small compared to now. Source of exhibition space There are more and more galleries. There is more support and the artists have more encouragement to work.

Work In Process: How is photography different then and now ?

It has changed quite a bit. But there are some perspectives and techniques that can be combined with both the past and the present. Whether it’s a matter of light, perspective, but the current work that I do It made us more detailed with it, which was different from before, which was quite raw. I also received experience from P’Tarn ‘Tanapol Kaewpring’, a senior photographer. I have had the opportunity to be his assistant. It has many things, but the differences are things that I often use together. For example, for architecture photography, I often use it for graffiti work as well. Some things are mutually beneficial and then I can modify them to be the way I like them.

What are the benefits from photo graffiti and street art ?

I think it changes the way of thinking and perspective. Because if I hadn’t started taking pictures about graffiti before Our attitude towards this kind of work probably does not see it as beautiful or colorful for the country. But when I came to do it I look at it in a different way. I always think of it as beautiful and cool. I always like to look for these types of jobs. Which nooks and crannies in the city? It has its own charm. And it gives us more courage. Throughout my time at Goplay, I’ve been everywhere. Desolate places, places with ghosts, communities with drug sources, local communities, illegal walls, encountering people when I went to film artists while they were spraying, encountering police, and filming artists spraying while in the middle of an event. The mob went down the road to block the city. I have all encountered the dark side. I think it helps us to be more courageous. It makes us understand society, understand people, and understand places.

Whose graffiti or street art did you especially like ?

Honestly, I liked everyone I went to shoot. But if I had to choose I like the work of Graffiti Artist ‘Zids’ in the Wildstyle style, with sharp, sharp lines. At that time, I mainly liked font work.

photo the work Which artist is particularly impressive?

There are many people. In fact, every artist who has had the opportunity to photograph each one has their own unique abilities. Has a clear style of its own The new generation that comes in has more courage in presenting themselves. This type of worker, I respect everyone’s work.

Your favorite photographer?

‘Martha Cooper’ She is the photographer who keeps the history of this line of work. I respect people like this very much. Because she loves the work she has done since the 80s, until now her aunt still follows her to film her work all the time. If it weren’t for her, we probably wouldn’t have seen graffiti in that era.

//////////////

credit photo graffiti & street art : Mc Suppha-riksh Phattrasitthichoke

photo portrait : @ppongser

Back To Top